วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การันต์กับทัณฑฆาตเกี่ยวข้องกันอย่างไร

ชื่อเครื่องหมายทัณฑฆาต  มักมีผู้เรียกว่า  การันต์ อยู่เสมอ  เช่น “ คำว่า  มิตร  ใส่การันต์ที่ตัว    หรือไม่ใส่ ”        คำว่าการันต์ ในคำถามนี้  ผู้พูดหมายถึงทัณฑฆาต นั่นเอง  จึงมีคำถามอีกว่า แล้วการันต์กับทัณฑฆาตเกี่ยวข้องกันอย่างไร  ทำไมจึงมีผู้เรียกเครื่องหมายทัณฑฆาตว่า  การันต์  คำตอบคือ  ทัณฑฆาต  เป็นชื่อเครื่องหมายที่ใช้กำกับตัวการันต์  แสดงว่าไม่ออกเสียง  ในเมื่อเครื่องหมายทัณฑฆาตมักจะอยู่บนตัวการันต์  จึงมีผู้เรียกเครื่องหมายทัณฑฆาตว่า  การันต์  ไปด้วย ดังที่ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒  ให้ความหมายคำ  การันต์  ไว้ดังนี้
                  การันต์  (การัน) น. ที่สุดอักษร”  ,  ตัวอักษรที่ไม่ออกเสียงซึ่งมีไม้ทัณฑฆาตกำกับไว้   เช่น “ ต”  ในคำว่า “ การันต์” , (ปาก)  เรียกตัวอักษรที่มีไม้ทัณฑฆาตกำกับ  เช่น  ล์  ว่า    การันต์   ค์  ว่า    การันต์
                  เห็นได้ว่า ความหมายตามพจนานุกรม   การันต์   หมายถึง  ตัวอักษรที่มีไม้ทัณฑฆาตกำกับ  อย่างไร ก็ตามอักษรที่ไม่มีไม้ทัณฑฆาตกำกับก็เป็นตัวการันต์ได้  ดังที่ พระยาอุปกิตศิลปสาร กล่าวไว้ว่า
            อักษรนำทั้งปวง  ตัวนำเป็นตัวสะกด  ตัวตามหลัง  ถ้าไม่อ่านเป็นพยางค์ต่อไป  ต้องนับว่าเป็นตัวการันต์  เช่น  ทิพย์ , กฤษณ์   ดังนี้     และ    เป็นตัวสะกด     และ    เป็นตัวการันต์  บางทีท่านก็ไม่ใช้ทัณฑฆาต  ดังนี้  ทิพย  ,  กฤษณ     (อุปกิตศิลปสาร , ๒๕๑๑
: ๒๖)                    
             คำอธิบายข้างต้นแสดงว่า  ตัวการันต์อาจไม่มีทัณฑฆาตกำกับก็ได้  ตัวการันต์นั้นแต่เดิมไม่ได้เกี่ยวข้องกับทัณฑฆาต
                ไทยยืมคำ  การันต์  มาจากภาษาบาลีสันสกฤต    การนฺต   หมายถึงที่สุดแห่งศัพท์  หรืออักษรสุดท้าย  ในภาษาบาลีทุกศัพท์ต้องมีสระการันต์  คือมีสระอันได้แก่      อา   อิ   อี  อุ  อู  ท้ายศัพท์   ส่วนภาษาสันสกฤต  อาจมีพยัญชนะการันต์   คือพยัญชนะท้ายศัพท์ได้   พยัญชนะการันต์   ได้แก่        การันต์    , น   การันต์  ,        การันต์   พยัญชนะการันต์เหล่านี้จะไม่ออกเสียง
                ในแบบเรียนชื่อ  พิศาลการันต์  ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย  อาจารยางกูร)  ได้กล่าวถึงการันต์   ไว้อย่างชัดเจน  ดังนี้
                                                อักษรบ่อนนี้ชื่อ                   การันต์
                                คือบอกตัวสำคัญ                                  เพิ่มท้าย
                                หากเติมเพื่อเพ็ญผัน                           ตามพากย์
                                เปลี่ยน ๆ เวียนยักย้าย                         ย่อมสร้อยเศศเสริม
                                  วิธีใช้ถ้อยคำขบวนหนึ่ง  มีอักษรเพิ่มไว้ข้างท้ายคำแต่มิใช่ตัวสะกด  เติมลงไปเพื่อจะให้เต็มคำซึ่งมาแต่ภาษามคธแลภาษาอื่นบ้าง  เสียงไทยอ่านไม่ตลอดไปถึง จึ่งลงไม้  ทัณฑฆาต  ไว้เป็นที่สังเกตว่าไม่อ่าน  ควรเรียกชื่อว่า  การันต์  ยักย้ายตามตัวที่เติมท้ายคือ  (ก)  การันต์  (ข)  การันต์  (ค)  การันต์  เป็นต้น    (ศรีสุนทรโวหาร, ๒๕๑๔ : ๓๐๓-๓๐๔)
                สรุปว่า  การันต์คือตัวอักษรที่ใส่ข้างท้าย แต่ไม่ออกเสียง  วิธีแสดงว่าอักษรไม่ออกเสียงก็คือใส่ ทัณฑฆาต ตัวการันต์ส่วนใหญ่จึงมีไม้ทัณฑฆาตกำกับไว้   การันต์กับทัณฑฆาตเป็นอักษรและเครื่องหมายที่ปรากฏคู่กันเสมอ ๆ   จนในที่สุด  เมื่อกล่าวว่า  การันต์  คือ “ ตัวอักษรที่มีไม้ทัณฑฆาตกำกับ ” จึงดูเหมือนจะถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น