วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อเสนอแนะในการแก้ไขข้อบกพร่องทางการอ่าน

          การอ่านเป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นต่อการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียนในแต่ละระดับชั้น ตลอดจนเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเรียนรู้ในระดับชั้นที่สูงขึ้น  แต่ปัจจุบัน พบว่ายังมีนักเรียนบางส่วนที่ยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ตามวัยและระดับชั้น  ดังนั้นการพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะการอ่านออกเขียนได้  จึงถือเป็นภารกิจสำคัญที่สถานศึกษาทุกแห่งต้องเร่งดำเนินการ 
          สำหรับข้อเสนอแนะและกิจกรรมเสนอแนะดังกล่าวต่อไปนี้  ครูอาจพิจารณาปรับใช้กับนักเรียนปกติในชั้นเรียนที่ต้องการปรับปรุงทักษะการอ่านพื้นฐานในโปรแกรมการอ่านเพื่อพัฒนา (Developmental  Reading  Program)  และนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการอ่านค่อนข้างสูง  ซึ่งต้องแยกไปเข้ารับบริการสอนซ่อนเสริมในคลินิกหรือห้องปฏิบัติการทางการอ่านในโปรแกรมการสอนอ่านซ่อมเสริม (Remedial  Reading  Program)  การแก้ไขข้อบกพร่องทางการอ่านประกอบด้วย  การแก้ไขทักษะต่อไปนี้คือ
          การจำคำ
          การจำคำ หมายถึง  กระบวนการมองเห็นและการชี้พิสูจน์คำ  ทำให้ผู้อ่านรู้จักรูปคำหรือลักษณะของคำ  สามารถออกเสียงคำและรู้ความหมายของคำได้ในทันทีที่อ่าน
๑)      การแนะคำด้วยรูปภาพ
การแนะคำด้วยรูปภาพ  หมายถึง  การใช้รูปภาพช่วยแนะความหมายของคำที่อ่าน
          ปัญหา  การมีความรู้และประสบการณ์เดิมน้อย  ทำให้นักเรียนขาดความสามารถทางการอ่าน
          ข้อเสนอแนะ  ครูอธิบายว่า  ภาพประกอบบทอ่านมีส่วนสำคัญช่วยให้นักเรียนอ่านเข้าใจมากขึ้น  ก่อนอ่านบทอ่านจึงควรสำรวจรูปภาพหรือแผนภูมิต่างๆ
๒)    การแนะคำด้วยรูปคำ
          การแนะคำด้วยรูปคำ  หมายถึง  การใช้รูปร่างคำซึ่งมีลักษณะสูง กลาง ต่ำ ช่วยแนะให้จำคำได้ง่ายขึ้น
          ปัญหา  นักเรียนบางคนไม่สามารถอ่านคำออก  หรือไม่สามารถจำคำที่ยาวหรือมีจำนวนพยางค์มากและยากได้
          กิจกรรมเสนอแนะ  ครูอาจฝึกเด็กให้รู้จักตีกรอบตามรูปคำ  โดยจัดทำรายการคำที่เรียงลำดับจากคำง่ายไปสู่คำยาก  รูปร่างคำที่มีระดับสูงต่ำเป็นคำที่รับรู้ง่ายกว่ารูปร่างคำที่มีระดับเท่าๆกัน
๓)    ความรู้ทางคำคุ้นตาหรือคำศัพท์พื้นฐาน
          ความรู้ทางคำคุ้นตาหรือคำศัพท์พื้นฐาน  หมายถึง  การรู้ความหมายของคำ คำศัพท์ทั่วไปที่ควรรู้ในระดับชั้นนั้นๆ ได้อย่างอัตโนมัติ  ในทันทีที่ใช้สายตามองดู
        ปัญหา  การมีความรู้ทางคำศัพท์พื้นฐานน้อยทำให้อ่านช้าลงและเข้าใจบทอ่านได้ยาก  ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาไม่สามารถอ่านคำได้คล่องเป็นคำคุ้นตา  ได้แก่  การอ่านเป็นคำๆ  การอ่านโดยไม่เว้นวรรคตอน  การอ่านคำอย่างลังเลใจ  การออกเสียงคำผิด  การอ่านเป็นคำอื่นแทน
          กิจกรรมเสนอแนะ
ก.      ผลิตพจนานุกรมรูปภาพที่มีลักษณะเป็นดัชนีเรียงลำดับตามตัวอักษรและรูปภาพประกอบคำศัพท์
ข.      ใช้บัตรคำ  ด้านหน้ามีรูปภาพและด้านหลังมีคำ  ครูสอนให้ออกเสียงคำและเด็กออกเสียงตามพร้อมกับเขียนลากเส้นไปตามคำจนจำคำได้โดยไม่ต้องดูรูปภาพ  ฝึกและทบทวนบ่อยๆ ทำให้สามารถจำคำได้
ค.      จับคู่คำกับภาพและคำ  ด้านหน้ามีภาพ 1 ภาพ  และด้านหลังมีคำ 2-3 คำที่สะกดคล้ายกัน  ให้เด็กเลือกให้ตรงกับภาพ
ง.       ติดบัตรคำ  ได้แก่  ไว้ที่ประตู  ฝาตู้  หน้าต่าง  รูปภาพ  บอร์ด  เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของคำและวัตถุ
จ.      ทำบัตรคำ  แถบวลี  และประโยค  ฝึกให้อ่านเร็วจากบัตรคำ
๔)    ความรู้เกี่ยวกับชนิดของคำ
          ความรู้เกี่ยวกับชนิดของคำ  หมายถึง   การรู้จักชนิดของคำ 8 ชนิด ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำกริยาวิเศษณ์ คำบุพบท คำวิเศษณ์ คำสันธาน และคำอุทาน
          ปัญหา  การที่นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับชนิดของคำน้อย  ทำให้อ่านเข้าใจยากว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เพราะอะไร
          ข้อเสมอแนะ   ครูควรสอนทำให้เข้าใจกับชนิดของหน้าที่ของคำในประโยค  เมื่ออ่านบทอ่านไม่เข้าใจ  นักเรียนจะได้รู้จักวิเคราะห์คำ   วลี   และประโยคได้ว่า  แต่ละคำเป็นคำชนิดใด  ทำให้เข้าใจความหมายของประโยคได้ดีขึ้น
๕)    การสะกดคำอ่าน
          ปัญหา   นักเรียนบางคนติดนิสัยอ่านแบบสะกดคำแล้วจึงอ่านออกเสียงเป็นคำออกมา  ทั้งๆ  ที่สามารถอ่านออกเสียงคำนั้นได้หรือทราบความหมายของคำนั้น    ทำให้เสียเวลาและที่สำคัญ  ทำให้ความคิดความเข้าใจในการอ่านไม่ต่อเนื่อง
          ข้อเสมอแนะ   เช่นเดียวกับข้อ 1)
  การจำคำ  การเขียนตัวอักษรกลับด้านและตัวอักษรกลับทิศทางในคำ
          ปัญหา  นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้นที่เริ่มเรียนอ่าน  รวมทั้งนักเรียนที่มีปัญหาทางการอ่าน  ได้แก่  ดิสเล็คเชีย  มักจำคำสับสน  และเขียนคำหรือตัวอักษรกลับด้าน
          กิจกรรมเสนอแนะ
ก.      ให้อ่านคำจากบัตรคำ  แล้วให้ใช้นิ้วเขียนลากไปตามคำ  พร้อมกับออก  เสียงคำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง  หลังจากนั้นให้อ่านในแถบประโยค
ข.      ติดแถบประโยคบนกระดาน  แล้วค่อยๆเลื่อนแถบประโยคจากซองไปทางซ้ายทีละน้อยให้เห็นทีละคำ
ค.      แสดงบัตรคำให้ดู  ระบายสีตัวอักษรแรกของคำ
ง.       แสดงบัตรคำให้ดู  ตีกรอบตัวอักษรแรกหรือตัวอักษรที่เป็นปัญหาของคำให้ชัดเจน  หรือตีกรอบรูปร่างคำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น