วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ศ ษ ส ใช้อย่างไร

ปัจจุบันเราใช้          ตามแบบภาษาไทยบาลีสันสกฤต  คำที่เราถือว่ามาจากภาษาบาลี  จะใช้    เพราะภาษาบาลีไม่มี    และ  มีแต่       ส่วนคำที่เราที่เราถือว่ามาจากภาษาสันสกฤตจะใช้        หรือ    แล้วแต่ว่าภาษาสันสกฤตใช้อักษรตัวใด  แต่ในสมัยก่อนไทยใช้          ตามแบบของไทยเราเอง
                ปัญหาเกี่ยวกับการใช้           เกิดขึ้นเพราะภาษาสันสกฤตออกเสียงพยัญชนะ           ต่างกัน 
ศาสตราจารย์ ดร.คุณบรรจบ  พันธุเมธา  อธิบายการออกเสียง    ไว้ว่า  ....    ของสันสกฤตเป็นเสียงพยัญชนะอุอสุม(ไอน้ำ) เกิดโดยการใช้ลิ้นแตะเพดานแข็งให้มีเสียงเสียดแทรกออกมาคล้ายเสียง sh  เวลา    ควบคู่มากับพยัญชนะอื่น  จึงมักเป็นพยัญชนะวรรค    เป็น  ศฺจ  โดยมาก  
                                                                                                                                                          (บรรจบ  พันธุเมธา,  ๒๕๑๖ : ๖๖)
                ส่วน    และ    คุณบรรจบอธิบายว่า    เป็นพยัญชนะซึ่งฐานที่เกิดเป็นฐานยอดเพดานที่เรียกว่า มุทธชะ  ในการออกเสียง     ต้องม้วนลิ้นแตะลึกเข้าไปเกือบถึงกลางเพดาน  แล้วจึงปล่อยลมให้เสียดแทรกออกมา     เป็นพยัญชนะซึ่งฐานที่เกิดเป็นฟันที่เรียนว่า ทันตชะ  ในการออกเสียง     ใช้ปลายลิ้นแตะข้างหลังฟัน  ให้เสียดแทรกออกมาตามไรฟัน
เมื่อคนไทยนำ             มาใช้แต่ออกเสียงอย่างคนอินเดียไม่ได้  จึงออกเสียงเหมือนกันหมดเป็น  []                 ในเมื่อเสียง  []  เสียงเดียวใช้พยัญชนะแทนได้ถึง    รูป  คนไทยจึงมีปัญหาในการเขียนโบราณาจารย์ของไทยได้ให้หลักการใช้เพื่อช่วยให้จำได้และเขียนถูกบ้าง
                พระวรเวทย์พิสิฐ  ให้หลักว่า  โบราณใช้      เป็นพยัญชนะต้น        เป็นตัวการันต์      เป็นตัวสะกด  ท่านเขียนว่า ....... ตัวพยัญชนะ    ตัวนี้มีเสียงไม่เหมือนกัน .... เราว่าเสียงตัว    ได้สะดวก  แต่    กับ    ต้องหัด  อยู่ข้างลำบาก  เพราะฉะนั้นโบราณจึงวางหน้าที่ตัวพยัญชนะ  ๓ ตัว  ไว้ดังนี้
                 ใช้เป็นตัวตั้ง  หรือพยัญชนะต้น  เช่น  สาร , สวรรค์ ,สุข    เพราะไม่ต้องลำบากในการต้องฝึกทำเสียง  ไทยเราก็ออกเสียงได้สะดวกอยู่แล้ว
                   ใช้เป็นตัวการันต์  เช่น  พงษ์ ,  วงษ์ ,  หงษ์    เพราะไม่อ่านออกเสียงตัวการันต์  หนังสือเก่าใช้   การันต์ เช่นนี้ทั้งนั้น  เพิ่งจะมาเปลี่ยนเป็น  พงศ์ ,  วงศ์ , หงส์  ในยุคใหม่นี้เอง
                ส่วน     โบราณใช้เป็นตัวสะกดในมาตรา  กด  แม้แต่รูปเดิมใช้    สะกด  ก็เปลี่ยนเป็น      เช่น  พิศม์  เป็นต้น ในคำไทยก็มีเป็นอันมาก  เช่น  พิศ , เลิศ ,  และถ้ามีคำต่อท้ายก็มักอ่านออกเสียง  สะ  ครึ่งเสียง  เช่น   พิศดู , เลิศล้น  เสียงเช่นนี้จึงเคยกันมา  ถ้าอ่านว่า พิศ-ดู  เลยเข้าใจว่าเป็น    คำไป 
                                                                                                                                                  ( พระวรเวทย์พิสิฐ,  ๒๕๐๒ : ๖๐) 
                ปัจจุบันการใช้             เปลี่ยนไป  หันไปอิงหลักภาษาบาลีสันสกฤต  ดังที่พระวรเวทย์พิสิฐ  อธิบายว่า  ....  เราเลิกใช้          อย่างโบราณ   แล้วหันเข้าหาหลักภาษาที่ถูกต้องตามหลักวิธีบาลีสันสกฤต  เพราะฉะนั้นการเขียนคำในปัจจุบันนี้  จึงต่างกับของโบราณ  คือคำเดิมเป็นรูปอย่างไร  เราก็เขียนรูปเช่นนั้น เพื่อเห็นรูปคำจะได้เข้าใจว่าเป็นคำอะไร  เช่น  พงษ์  ภาษาสันสกฤตใช้   บาลีใช้     เรานิยมใช้รูปคำสันสกฤต  เราจึงเขียนเป็น  พงศ์  หรือ  วงศ์    ส่วนคำว่า   หงษ์   ของโบราณ  สันสกฤตเป็น  หนฺส    บาลีเป็น   หงฺส  เราจึงใช้  หงส์  ตามรูปเดิม  แต่อย่างไรก็ดี  เรายังนิยมใช้    เป็นตัวสะกดอยู่หลายคำ  เช่น  พิศ  และ  เลิศ   เป็นต้น
                                                                                                                                                ( พระวรเวทย์พิสิฐ,  ๒๕๐๒ : ๖๑) 
                การใช้             ตามหลักวิธีบาลีสันสกฤตดังกล่าวนี้ได้เลิกใช้ไประยะหนึ่งระหว่าง  พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๔๘๗  สมัยจอมพล ป.   พิบูลสงคราม  รัฐบาลไทยสมัยนั้นกำหนดให้ใช้     เพียงรูปเดียว   แต่เมือ่พ้นระยะเวลาดังกล่าว  อักขรวิธีของไทยก็กลับไปเหมือนเดิม  มีการใช้ทั้ง        และ    ตามหลักวิธีบาลีสันสกฤต
เอกสารอ้างอิง
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน , สำนักงาน.  ๒๕๕๑.  หนังสืออุเทศภาษาไทย ; ภาษาไทยน่าศึกษาหาคำตอบ.  
                     กรุงเทพฯ : องค์การค้า สกสค.
บรรจบ   พันธุเมธา.  ๒๕๑๖.  บาลีสันสกฤตในภาษาไทย.  พระนคร :  โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราคำแหง.
วรเวทย์พิสิฐ,  พระ.  ๒๕๐๒.  หลักภาษาไทย.  พระนคร : โรงพิมพ์วิทยาลัยเทคนิค.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น