วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

การประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์

คำที่ออกเสียง  อะ   ในภาษาไทยมีทั้งที่ปรากฏรูปสระ  เรียกว่า  ประวิสรรชนีย์ และไม่ปรากฏรูปสระ  ที่เรียกว่า  ไม่ประวิสรรชนีย์   เพื่อให้การใช้ภาษาไทยได้ถูกต้องตามหลักการเขียนคำที่ปรากฏสระ อะ  และที่ไม่ปรากฏ สระ อะ  ในคำไทยนั้นมีข้อที่น่าสังเกต  ดังนี้
คำที่ประวิสรรชนีย์    ได้แก่
๑.      คำพยางค์เดียวที่ออกเสียงสระ  อะ   ให้ประวิสรรชนีย์  เช่น  กะ  จะ  ปะ   นะ  คะ 
๒.    พยางค์ของคำ เมื่อออกเสียงสระ  อะ  ให้ประวิสรรชนีย์  เช่น   ธุระ   หิมะ  ลักษณะ  ศิลปะ  อิสระ  อมตะ  สรณะ  กระบะ 
๓.     คำเดิมเป็นคำสองพยางค์  ต่อมาเสียงหน้ากร่อนเป็นเสียง  อะ  ให้ประวิสรรชนีย์  เช่น
หมากพร้าว                   -              มะพร้าว                                 หมากม่วง             -              มะม่วง
หมากเขือ                      -              มะเขือ                                    หมากขาม             -              มะขาม
ต้นแบก                          -              ตะแบก                                  ต้นเคียน               -              ตะเคียน
ตาวัน                              -              ตะวัน                                     ตาปู                       -              ตะปู
สายดือ                           -              สะดือ                                     สายดึง                   -              สะดึง
เฌอเอม                         -              ชะเอม                                   คำนึง                      -              คะนึง
ฉันนั้น                           -              ฉะนั้น                                    ฉันนี้                     -              ฉะนี้
๔.     คำที่กร่อนจากคำอัพภาสซึ่งมักใช้ในคำประพันธ์  ให้ประวิสรรชนีย์  เช่น
ริกริก                              -              ระริก                                      แย้มแย้ม                -              ยะแย้ม
ครื้นครื้น                       -              คระครื้น                                ฉาดฉาด                 -              ฉะฉาด
วับวับ                             -              วะวับ                                      วาบวาบ                 -              วะวาบ
๕.     คำที่พยางค์หน้าออกเสียง  กระ  ประ  ให้ประวิสรรชนีย์   เช่น
กระษัย           กระษาปณ์             กระเสียร               กระหนก               ประกาศ                 ประณีต 
ประจักษ์        ประคอง                ประสิทธิ์               ประสาท                ประหวัด               
๖.      คำที่พยางค์หน้าออกเสียง   ระ  ที่มาจากภาษาเขมร  ให้ประวิสรรชนีย์  เช่น
ระเบียน         ระเบียบ                ระบำ                      ระเมียร                  ระลอก                   ระมาด
๗.     คำที่มาจากภาษาจีน  ญี่ปุ่น  และอื่น ๆ  ให้ประวิสรรชนีย์  เช่น
บะหมี่            ตะหลิว                  บะจ่าง                    ประไหมสุหรี       มะเดหวี                 ปะหนัน
ระตู                กะละมัง                อะแวหวุ่นกี้          มะตะบะ               มะงุมมะงาหรา
คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์      ได้แก่
                ๑. คำที่เป็นพยัญชนะโดด ๆ  ออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมกับสระ   -ะ    เช่น
                           ที่มีความหมายว่า    ใน   ที่     ออกเสียงว่า    ณะ       เช่น      กาลครั้งหนึ่ง      สวนลุมพินี
                            ที่มีความหมายว่า     ท่าน   เธอ   ออกเสียงว่า    ทะ   เช่น           ประสงค์ใด
ฯพณฯ   ที่เป็นคำนำหน้าชื่อหรือตำแหน่งข้าราชการผู้ใหญ่  ออกเสียงว่า  พะ - นะ - ท่าน   เช่น  
ฯพณฯ    นายกรัฐมนตรี
                ๒. คำสองพยางค์  ที่พยางค์หน้ากร่อนเสียงเหลือเพียงพยัญชนะต้นประสมกับสระ   -ะ  บางคำ  เช่น
                     อันหนึ่ง          -        อนึ่ง              ผู้ญาณ                      -      พยาน                    ท่านนาย     -     ทนาย
                ๓. คำที่มาจากภาษาเขมร    เช่น  กบาล   ขจี   ฉบับ   ถนน    ผกา     ผสม   ลออ   สงัด   สดับ   สนม
                ๔. คำที่แผลงมาจากคำพยางค์เดียว  มีพยางค์หน้าออกเสียงพยัญชนะต้นประสมกับสระ  -ะ  เช่น
                    เดิม    แผลงเป็น              เผดิม                      บวช        แผลงเป็น              ผนวช
                   เกย      แผลงเป็น              เขนย                      ขด           แผลงเป็น              ขนด
                   ขาน    แผลงเป็น              ขนาน
                ๕. คำภาษาบาลีสันสกฤต ที่ออกเสียงพยัญชนะต้นประสมกับสระ  -ะ     เช่น
                    กนก                  กษัตริย์                   นภา       มติ          รวิ           ลดา         สดุดี        อวตาร    อนงค์
                ๖. คำภาษาบาลีสันสกฤต ซึ่งเป็นคำสมาสพยางค์ที่ออกเสียงสระ   -ะ    เชื่อมระหว่างคำ   เช่น
                  คณิตศาสตร์       จตุรพิธ            ทิพรส      รัตนตรัย              ศิลปศึกษา      สาธารณสุข     อิสรภาพ
                ๗.คำที่มาจากภาษาอื่น  พยางค์ที่ออกเสียง   -ะ    ระหว่างพยางค์    เช่น     ชวา     พม่า     พลาสติก
                  มลายู                              สกี          สวีเดน                   อเมริกา                  ไอศกรีม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น