การจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง BBL( Brain-based Learning ) คืออะไร
สถาบันส่งเสริมอัฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้ (2550 ฉ, 2551) กล่าวถึงการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง (BBL : Brain - based Learning) คือการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมองแต่ละช่วงวัย เป็นการนำองค์ความรู้เรื่องสมองมาใช้เป็นฐานในการออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยมีที่มาจากศาสตร์การเรียนรู้ 2 สาขา คือ
1) ความรู้ทางประสาทวิทยา ( Neurosciences) ซึ่งอธิบายที่มาของความคิดและจิตใจของมนุษย์ โดยเฉพาะในด้านที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับทักษะการเรียนรู้ อันได้แก่ ความสามารถในการเรียนรู้ ความจำ ความเข้าใจ และความชำนาญ โดยผ่านทฤษฎีว่าด้วยการทำงานของสมองเป็นสำคัญ
2) แนวคิด/ทฤษฎี การเรียนรู้ (Learning Theories) ต่าง ๆ ที่อธิบายเกี่ยวกับการเรียนรู้ของสมองมนุษย์ และกระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นและมีพัฒนาการอย่างไร
การบูรณาการองค์ความรู้ทั้ง 2 สาขาเข้าด้วยกันทำให้กระบวนการจัดการเรียนรู้ตั้งอยู่บนฐานของการพิจารณาว่าปัจจัยใดบ้างจะทำให้สมองมีการเปลี่ยนแปลง สมองมีปฏิกิริยาตอบรับต่อการเรียนการสอนแบบใดและอย่างไร ซึ่งทั้งหมดนี้นำไปสู่การจัดกิจกรรมระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และที่สำคัญ คือการออกแบบและใช้เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ โดยเน้นว่าต้องเน้นให้ผู้เรียนสนใจ เกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจ การจดจำตามมา และนำไปสู่ความสามารถในการใช้เหตุผล เข้าใจ ความเชื่อมโยงสัมพันธ์ในทุกมิติของชีวิต
หลักการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง
Caine and Caine อ้างถึงใน สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ( 2553) กล่าวถึง หลักการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานว่ามี 12 ประการ ได้แก่
1) สมองเป็นกระบวนการคู่ขนาน ในการจัดการเรียนการสอนครูจึงต้องใช้เทคนิคและวิธีการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะเรียนรู้มากขึ้น
2) ศักยภาพในการเรียนรู้เกิดจากการปฏิสัมพันธืร่วมกันระหว่าง การทำงานของระบบต่าง ๆของร่างกาย อารมณ์ การจัดการกับความเครียด ภาวะโภชนาการ การออกกำลังกานและการเล่นเพื่อผ่อนคลาย ปัจจัยดังกล่าวจึงนับว่ามีความสำคัญต่อการเรียนรู้ทั้งสิ้น
3) สมองเลือกที่รับรู้และเรียนรู้ในสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง มนุษย์มีความต้องการเรียนรู้ตั้งแต่กำเนิด การจัดการเรียนการสอนจึงควรใช้วิธรที่ท้าทายและมีความหมาย ได้แก่ การส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักค้นหาคำตอบจากคำถามด้วยตนเอง
4) กระบ;นการค้นหาความหมายของสมองเกิดขึ้นโดยกระบวนการที่มีรูปแบบ การเรียนรู้ของแต่ละบุคคลจึงเกิดขึ้นอย่างมีรูปแบบด้วยเช่นกัน การจัดการเรียนการสอนจึงต้องจัดอย่างมีรูปแบบและเหมาะสมกับผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น
5) อาราณ์และเจตคติมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล ครูจึงต้องเข้าใจและให้ความสำคัญกับความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน โดยควรจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนการสอนให้เอื้อต่อผู้เรียนทั้งด้านอาราณ์และเจตคติ
6) กระบวนการทำงานขอองสมองเพื่อการเรียนรู้เกิดขึ้นได้กับสมองบางส่วนและการประสานสัมพันธ์กับสมองทุกส่วนพร้อม ๆกัน การจัดการเรียนรู้จึงต้องจัดกิจกรรมทั้งที่เน้นการใช้สมองเฉพาะส่วนและการเชื่อมโยงของสมองทุกส่วน
7) การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นร่วมกันระหว่างความสนใจกับการรับรู้สิ่งที่อยู่รอบ ๆ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจึงควรดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่เพื่อให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ดีขึ้น
8) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทั้งในภาวะที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ เนื่องจากการเชื่อมโยงของเซลล์สมอง
เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การจัดการเรียนการสอนจึงควรสอดแทรกสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนรู้ได้โดยไม่รู้ตัว กล่าวได้ว่าประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ของผู้เรียน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในภาวะที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม
9) สมองจัดเก็บข้อมูลในความทรงจำอย่างน้อย 2 ระบบในแต่ส่วนของสมอง การเรียนรู้จึงเกิดขึ้นได้ดีหากมีการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่รับรู้เดิมกับประสบการณืที่ได้รับใหม่ และมีความหลากหลาย
10) การเรียนรู้เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมและสิ่งแวดล้อม การจัดการเรียนรู้ จึงควรจัดให้สอดคล้องกับสถาพแวดล้อมจริงของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนได้เรียนจากประสบการณ์จริงซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น
11) การเรียนรู้ที่ซับซ้อนเกิดขึ้นได้ดีด้วยการเผชิญกับควาท้าทาย และถุกยับยั้งด้วยการคุกคามและการทำให้เกิดความหวาดกลัว เช่น การลงโทษ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจึงควรให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างสนุกสนานและมีความสุข
12) สมองของแต่ละบุคคลมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน เนื่องจากบุคคลมีความแตกต่างกันทั้งด้านพันธุกรรม สภาพแวดล้อม ประสบการณ์และสิ่งกระตุ้นที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้จึงต้องใช้วิธีการที่หลากหลายและเหมาะกับผู้เรียนแต่ละคน
บรรณานุกรม
ส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้, สถาบัน. (2550ฉ). สมองเรียนรู้อย่างไร. เอกสารประกอบ
การอบรมครู BBL ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
วิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สำนัก. (2553). การศึกษาผลการติดตามการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง(BBL :Brain-based Learning) ระดับประถมศึกษาในโรงเรียนศูนย์ปฐมวัยต้นแบบเข้มแข็ง.
Best Casino Bonuses 2020 - Play with Bonus Codes
ตอบลบThe casino's 슬롯나라 minimum deposit is €10, and the 슬롯 maximum bonus amount can be claimed in the event of a losing streak. For 벳 익스 example, a bonus 하하 포커 amount 라이브스코어 can be worth up to €200