วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อเสนอแนะในการแก้ไขข้อบกพร่องทางการอ่าน

          การอ่านเป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นต่อการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียนในแต่ละระดับชั้น ตลอดจนเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเรียนรู้ในระดับชั้นที่สูงขึ้น  แต่ปัจจุบัน พบว่ายังมีนักเรียนบางส่วนที่ยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ตามวัยและระดับชั้น  ดังนั้นการพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะการอ่านออกเขียนได้  จึงถือเป็นภารกิจสำคัญที่สถานศึกษาทุกแห่งต้องเร่งดำเนินการ 
          สำหรับข้อเสนอแนะและกิจกรรมเสนอแนะดังกล่าวต่อไปนี้  ครูอาจพิจารณาปรับใช้กับนักเรียนปกติในชั้นเรียนที่ต้องการปรับปรุงทักษะการอ่านพื้นฐานในโปรแกรมการอ่านเพื่อพัฒนา (Developmental  Reading  Program)  และนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการอ่านค่อนข้างสูง  ซึ่งต้องแยกไปเข้ารับบริการสอนซ่อนเสริมในคลินิกหรือห้องปฏิบัติการทางการอ่านในโปรแกรมการสอนอ่านซ่อมเสริม (Remedial  Reading  Program)  การแก้ไขข้อบกพร่องทางการอ่านประกอบด้วย  การแก้ไขทักษะต่อไปนี้คือ
          การจำคำ
          การจำคำ หมายถึง  กระบวนการมองเห็นและการชี้พิสูจน์คำ  ทำให้ผู้อ่านรู้จักรูปคำหรือลักษณะของคำ  สามารถออกเสียงคำและรู้ความหมายของคำได้ในทันทีที่อ่าน
๑)      การแนะคำด้วยรูปภาพ
การแนะคำด้วยรูปภาพ  หมายถึง  การใช้รูปภาพช่วยแนะความหมายของคำที่อ่าน
          ปัญหา  การมีความรู้และประสบการณ์เดิมน้อย  ทำให้นักเรียนขาดความสามารถทางการอ่าน
          ข้อเสนอแนะ  ครูอธิบายว่า  ภาพประกอบบทอ่านมีส่วนสำคัญช่วยให้นักเรียนอ่านเข้าใจมากขึ้น  ก่อนอ่านบทอ่านจึงควรสำรวจรูปภาพหรือแผนภูมิต่างๆ
๒)    การแนะคำด้วยรูปคำ
          การแนะคำด้วยรูปคำ  หมายถึง  การใช้รูปร่างคำซึ่งมีลักษณะสูง กลาง ต่ำ ช่วยแนะให้จำคำได้ง่ายขึ้น
          ปัญหา  นักเรียนบางคนไม่สามารถอ่านคำออก  หรือไม่สามารถจำคำที่ยาวหรือมีจำนวนพยางค์มากและยากได้
          กิจกรรมเสนอแนะ  ครูอาจฝึกเด็กให้รู้จักตีกรอบตามรูปคำ  โดยจัดทำรายการคำที่เรียงลำดับจากคำง่ายไปสู่คำยาก  รูปร่างคำที่มีระดับสูงต่ำเป็นคำที่รับรู้ง่ายกว่ารูปร่างคำที่มีระดับเท่าๆกัน
๓)    ความรู้ทางคำคุ้นตาหรือคำศัพท์พื้นฐาน
          ความรู้ทางคำคุ้นตาหรือคำศัพท์พื้นฐาน  หมายถึง  การรู้ความหมายของคำ คำศัพท์ทั่วไปที่ควรรู้ในระดับชั้นนั้นๆ ได้อย่างอัตโนมัติ  ในทันทีที่ใช้สายตามองดู
        ปัญหา  การมีความรู้ทางคำศัพท์พื้นฐานน้อยทำให้อ่านช้าลงและเข้าใจบทอ่านได้ยาก  ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาไม่สามารถอ่านคำได้คล่องเป็นคำคุ้นตา  ได้แก่  การอ่านเป็นคำๆ  การอ่านโดยไม่เว้นวรรคตอน  การอ่านคำอย่างลังเลใจ  การออกเสียงคำผิด  การอ่านเป็นคำอื่นแทน
          กิจกรรมเสนอแนะ
ก.      ผลิตพจนานุกรมรูปภาพที่มีลักษณะเป็นดัชนีเรียงลำดับตามตัวอักษรและรูปภาพประกอบคำศัพท์
ข.      ใช้บัตรคำ  ด้านหน้ามีรูปภาพและด้านหลังมีคำ  ครูสอนให้ออกเสียงคำและเด็กออกเสียงตามพร้อมกับเขียนลากเส้นไปตามคำจนจำคำได้โดยไม่ต้องดูรูปภาพ  ฝึกและทบทวนบ่อยๆ ทำให้สามารถจำคำได้
ค.      จับคู่คำกับภาพและคำ  ด้านหน้ามีภาพ 1 ภาพ  และด้านหลังมีคำ 2-3 คำที่สะกดคล้ายกัน  ให้เด็กเลือกให้ตรงกับภาพ
ง.       ติดบัตรคำ  ได้แก่  ไว้ที่ประตู  ฝาตู้  หน้าต่าง  รูปภาพ  บอร์ด  เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของคำและวัตถุ
จ.      ทำบัตรคำ  แถบวลี  และประโยค  ฝึกให้อ่านเร็วจากบัตรคำ
๔)    ความรู้เกี่ยวกับชนิดของคำ
          ความรู้เกี่ยวกับชนิดของคำ  หมายถึง   การรู้จักชนิดของคำ 8 ชนิด ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำกริยาวิเศษณ์ คำบุพบท คำวิเศษณ์ คำสันธาน และคำอุทาน
          ปัญหา  การที่นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับชนิดของคำน้อย  ทำให้อ่านเข้าใจยากว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เพราะอะไร
          ข้อเสมอแนะ   ครูควรสอนทำให้เข้าใจกับชนิดของหน้าที่ของคำในประโยค  เมื่ออ่านบทอ่านไม่เข้าใจ  นักเรียนจะได้รู้จักวิเคราะห์คำ   วลี   และประโยคได้ว่า  แต่ละคำเป็นคำชนิดใด  ทำให้เข้าใจความหมายของประโยคได้ดีขึ้น
๕)    การสะกดคำอ่าน
          ปัญหา   นักเรียนบางคนติดนิสัยอ่านแบบสะกดคำแล้วจึงอ่านออกเสียงเป็นคำออกมา  ทั้งๆ  ที่สามารถอ่านออกเสียงคำนั้นได้หรือทราบความหมายของคำนั้น    ทำให้เสียเวลาและที่สำคัญ  ทำให้ความคิดความเข้าใจในการอ่านไม่ต่อเนื่อง
          ข้อเสมอแนะ   เช่นเดียวกับข้อ 1)
  การจำคำ  การเขียนตัวอักษรกลับด้านและตัวอักษรกลับทิศทางในคำ
          ปัญหา  นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้นที่เริ่มเรียนอ่าน  รวมทั้งนักเรียนที่มีปัญหาทางการอ่าน  ได้แก่  ดิสเล็คเชีย  มักจำคำสับสน  และเขียนคำหรือตัวอักษรกลับด้าน
          กิจกรรมเสนอแนะ
ก.      ให้อ่านคำจากบัตรคำ  แล้วให้ใช้นิ้วเขียนลากไปตามคำ  พร้อมกับออก  เสียงคำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง  หลังจากนั้นให้อ่านในแถบประโยค
ข.      ติดแถบประโยคบนกระดาน  แล้วค่อยๆเลื่อนแถบประโยคจากซองไปทางซ้ายทีละน้อยให้เห็นทีละคำ
ค.      แสดงบัตรคำให้ดู  ระบายสีตัวอักษรแรกของคำ
ง.       แสดงบัตรคำให้ดู  ตีกรอบตัวอักษรแรกหรือตัวอักษรที่เป็นปัญหาของคำให้ชัดเจน  หรือตีกรอบรูปร่างคำ

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การันต์กับทัณฑฆาตเกี่ยวข้องกันอย่างไร

ชื่อเครื่องหมายทัณฑฆาต  มักมีผู้เรียกว่า  การันต์ อยู่เสมอ  เช่น “ คำว่า  มิตร  ใส่การันต์ที่ตัว    หรือไม่ใส่ ”        คำว่าการันต์ ในคำถามนี้  ผู้พูดหมายถึงทัณฑฆาต นั่นเอง  จึงมีคำถามอีกว่า แล้วการันต์กับทัณฑฆาตเกี่ยวข้องกันอย่างไร  ทำไมจึงมีผู้เรียกเครื่องหมายทัณฑฆาตว่า  การันต์  คำตอบคือ  ทัณฑฆาต  เป็นชื่อเครื่องหมายที่ใช้กำกับตัวการันต์  แสดงว่าไม่ออกเสียง  ในเมื่อเครื่องหมายทัณฑฆาตมักจะอยู่บนตัวการันต์  จึงมีผู้เรียกเครื่องหมายทัณฑฆาตว่า  การันต์  ไปด้วย ดังที่ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒  ให้ความหมายคำ  การันต์  ไว้ดังนี้
                  การันต์  (การัน) น. ที่สุดอักษร”  ,  ตัวอักษรที่ไม่ออกเสียงซึ่งมีไม้ทัณฑฆาตกำกับไว้   เช่น “ ต”  ในคำว่า “ การันต์” , (ปาก)  เรียกตัวอักษรที่มีไม้ทัณฑฆาตกำกับ  เช่น  ล์  ว่า    การันต์   ค์  ว่า    การันต์
                  เห็นได้ว่า ความหมายตามพจนานุกรม   การันต์   หมายถึง  ตัวอักษรที่มีไม้ทัณฑฆาตกำกับ  อย่างไร ก็ตามอักษรที่ไม่มีไม้ทัณฑฆาตกำกับก็เป็นตัวการันต์ได้  ดังที่ พระยาอุปกิตศิลปสาร กล่าวไว้ว่า
            อักษรนำทั้งปวง  ตัวนำเป็นตัวสะกด  ตัวตามหลัง  ถ้าไม่อ่านเป็นพยางค์ต่อไป  ต้องนับว่าเป็นตัวการันต์  เช่น  ทิพย์ , กฤษณ์   ดังนี้     และ    เป็นตัวสะกด     และ    เป็นตัวการันต์  บางทีท่านก็ไม่ใช้ทัณฑฆาต  ดังนี้  ทิพย  ,  กฤษณ     (อุปกิตศิลปสาร , ๒๕๑๑
: ๒๖)                    
             คำอธิบายข้างต้นแสดงว่า  ตัวการันต์อาจไม่มีทัณฑฆาตกำกับก็ได้  ตัวการันต์นั้นแต่เดิมไม่ได้เกี่ยวข้องกับทัณฑฆาต
                ไทยยืมคำ  การันต์  มาจากภาษาบาลีสันสกฤต    การนฺต   หมายถึงที่สุดแห่งศัพท์  หรืออักษรสุดท้าย  ในภาษาบาลีทุกศัพท์ต้องมีสระการันต์  คือมีสระอันได้แก่      อา   อิ   อี  อุ  อู  ท้ายศัพท์   ส่วนภาษาสันสกฤต  อาจมีพยัญชนะการันต์   คือพยัญชนะท้ายศัพท์ได้   พยัญชนะการันต์   ได้แก่        การันต์    , น   การันต์  ,        การันต์   พยัญชนะการันต์เหล่านี้จะไม่ออกเสียง
                ในแบบเรียนชื่อ  พิศาลการันต์  ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย  อาจารยางกูร)  ได้กล่าวถึงการันต์   ไว้อย่างชัดเจน  ดังนี้
                                                อักษรบ่อนนี้ชื่อ                   การันต์
                                คือบอกตัวสำคัญ                                  เพิ่มท้าย
                                หากเติมเพื่อเพ็ญผัน                           ตามพากย์
                                เปลี่ยน ๆ เวียนยักย้าย                         ย่อมสร้อยเศศเสริม
                                  วิธีใช้ถ้อยคำขบวนหนึ่ง  มีอักษรเพิ่มไว้ข้างท้ายคำแต่มิใช่ตัวสะกด  เติมลงไปเพื่อจะให้เต็มคำซึ่งมาแต่ภาษามคธแลภาษาอื่นบ้าง  เสียงไทยอ่านไม่ตลอดไปถึง จึ่งลงไม้  ทัณฑฆาต  ไว้เป็นที่สังเกตว่าไม่อ่าน  ควรเรียกชื่อว่า  การันต์  ยักย้ายตามตัวที่เติมท้ายคือ  (ก)  การันต์  (ข)  การันต์  (ค)  การันต์  เป็นต้น    (ศรีสุนทรโวหาร, ๒๕๑๔ : ๓๐๓-๓๐๔)
                สรุปว่า  การันต์คือตัวอักษรที่ใส่ข้างท้าย แต่ไม่ออกเสียง  วิธีแสดงว่าอักษรไม่ออกเสียงก็คือใส่ ทัณฑฆาต ตัวการันต์ส่วนใหญ่จึงมีไม้ทัณฑฆาตกำกับไว้   การันต์กับทัณฑฆาตเป็นอักษรและเครื่องหมายที่ปรากฏคู่กันเสมอ ๆ   จนในที่สุด  เมื่อกล่าวว่า  การันต์  คือ “ ตัวอักษรที่มีไม้ทัณฑฆาตกำกับ ” จึงดูเหมือนจะถูกต้อง

วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

มารู้จักอาการของเด็กแอลดี ( Learning Disabilities ) กันเถอะ

            LD  หรือ Learning  Disabilities  หมายถึง ความบกพร่องในการเรียนรู้
เด็กแอลดี  จึงหมายถึง  เด็กที่มีความบกพร่องเกี่ยวกับกระบวนการทางจิตวิทยา  ความบกพร่องทางการใช้ภาษา การพูด  การอ่าน  การเขียน  การฟัง  การสะกดคำ  การคิด  การให้เหตุผล  การคำนวณทางคณิตศาสตร์  การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ ความบกพร่องทางการรับรู้   การสร้างความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  การแก้ปัญหา  การตอบสนอง  การใช้สมาธิ  การจำแนก  การใช้สายตา  การสัมผัส  การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
            รศ.พญ. ศันสนีย์  ฉัตรคุปต์ ( 2: 2551)  กล่าวว่า  เด็กแอลดี  หมายถึง เด็กทั่วไปที่มีสติปัญญาและไอคิวปกติหรืออาจสูงกว่าปกติ  แต่มีความบกพร่องในเรื่องบางอย่างโดยเฉพาะเรื่องการอ่านหนังสือ  การเขียนหนังสือ และการคิดคำนวณ  เด็กแอลดีจะมีความสามารถต่ำกว่าชั้นเรียนประมาณ 2 ชั้นปี  คืออาจเรียนอยู่ชั้น ป. 4 แต่ความสามารถด้านการอ่านหรือการเขียนหรือการคำนวณอยู่ในระดับ ป. 1- ป. 3  มีการวิจัยกันว่า เป็นเรื่องวงจรของการทำงานของสมองคล้ายวงจรไฟฟ้าติด ๆ ดับ ๆ
            ด้านการอ่าน   เวลาอ่านหนังสือเราจะมองเห็นและรับรู้การประสมคำและความหมายของคำ  แต่เด็กแอลดีจะมีปัญหาในหลายระดับ  ระดับที่หนึ่งคือ สายตาตรวจแล้วเป็นปกติ สายตาไม่ได้สั้น ไม่ได้เบลอไป  เด็กแอลดีมองเห็นตัวหนังสือเป็นข้อมูลที่ป้อนเข้าสมองไม่เหมือนทั่ว ๆไป  เช่น ตัวหนังสือลอยไปลอยมา เห็นกลับข้างคล้ายมีกระจกเงาอยู่ในสมอง ดังเช่น คำ  ว่า Ambulance  ข้างรถพยาบาลที่เขียนกลับข้าง  บางครั้งอ่านได้ย่อหน้าหนึ่ง เมื่อกลับมาอ่านอีกที อ่านไม่ได้เลย   สมองว่างไปเฉย ๆ บางทีอ่านหนังสือหายไปเป็นบรรทัด หรือหายไปเป็นบางตัว จึงอ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ระดับการรับรู้ข้อมูลต่อมาเมื่อเข้าไปถึงข้างในแล้วคือการตีความหมาย เด็กแอลดีอาจเฉลียวฉลาด มีไอคิวปกติ  แต่ไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการเรียนตามปกติได้
            ด้านการเขียน   เด็กแอลดีที่มีความผิดปกติในการเขียนก็อาจจะเขียนตัวใหญ่ ตัวเล็ก ระยะช่องไฟไม่ถูก  เขียนตก  สะกดผิด  ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  ทำให้เด็กแอลดีไม่สามารถจะเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่ากับวัย  ชั้นเรียน และไอคิวที่ควรจะเป็น
            มีการพบว่า นอกจากเด็กแอลดีจะมีไอคิวปกติแล้ว บางกลุ่มจะมีความเป็นอัจฉริยะด้วย  แต่ว่ามีความบกพร่องในการอ่าน  การเขียน  การคิดคำนวณ  ซึ่งเด็กแอลดีต้องการวิธีสอนที่แตกต่างจากเด็กปกติ  เด็กแอลดีบางคนได้รับการสอนอย่างไรก็ไม่เข้าใจเลข 1   จึงอาจต้องใช้ช่องทางอื่นของการเรียนรู้ของสมอง  เช่น สอนเลข 1  ต้องมีตุ่มหนึ่งแล้วให้ใช้มือคลำ ใช้ประสาทสัมผัส  นอกเหนือจากการเห็นส่งข้อมูลไปที่สมองเป็นสัญลักษณ์ออกมา
            สาเหตุของแอลดี          จากการวิจัยเชื่อกันว่า ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของพันธุกรรม  ในสัตว์ทดลองพบว่าเซลล์สมองเดินไปแล้วอาจจะเดินผิดที่  ใยประสาทของสมองที่เดินเป็นวงจรทำงานไม่เต็มที่ ไม่ครบวงจร  ไม่เหมือนวงจรทั่ว ๆไป อีกส่วนหนึ่งพบได้บ่อยคือเป็นผลมาจากสมองถูกกระทบกระเทือน ประสบอุบัติเหตุศีรษะกระแทกอาการโคม่า พอฟื้นขึ้นมาอาจเกิดความบกพร่องทางการเรียนรู้
            จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นแอลดี   ศ.ดร.ผดุง  อารยะวิญญู ( 5:2551) กล่าวว่า  เราจะไม่ทราบจนกว่าเด็กคนนั้นจะเข้าโรงเรียน  เพราะเด็กกลุ่มนี้จะมีปัญหาในเรื่องการเรียนหนังสือ  จะเรียนได้ไม่ดีเท่ากับเด็กอื่น ๆ  เราสามารถจะดูดัชนีบางอย่างได้เมื่อเด็กอายุ  5-6  ขวบ  แต่จะให้แน่ชัดต้องมีอายุ 7 ขวบเมื่อเข้าโรงเรียนแล้วลักษณะที่เห็นชัดในโรงเรียนก็คือ  ลายมือ  ลายมือจะไม่ค่อยเหมือนเพื่อน   อ่านยาก  ดูจากการอ่านหนังสือจะอ่านไม่ทันเพื่อน  ดูจากการเขียนจะเขียนตามคำบอกไม่ได้ เหล่านี้เป็นต้น  เป็นลักษณะที่เห็นตอนเข้าโรงเรียนแล้ว  เด็กแอลดีมีร่างกายปกติ เพียงแต่มีปัญหาในการดูสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่จะมีในวิชาภาษาไทย  วิชาคณิตศาสตร์
            ศ.ดร.ผดุง  อารยะวิญญู  แบ่งอาการของเด็กแอลดี  ได้เป็น  4  กลุ่ม คือ
1.  มีปัญหาในการอ่านหนังสือ ( Dyslexia )  จะมีอาการอ่านไม่ออก  หรืออ่านได้บ้าง แต่สะกดคำไม่ถูก  ผสมคำไม่ได้  สลับตัวพยัญชนะ  สับสนกับการผันสระและวรรณยุกต์  บางทีเด็กสนใจแต่การสะกดคำทำให้อ่านแล้วจับใจความไม่ได้
2.  มีปัญหาในการเขียนหนังสือ ( Dysgraphia ) แม้จะรู้ว่าต้องการเขียนอะไร แต่ก็เขียนไม่ได้หรือเขียนได้ช้า   เขียนตกหล่น  เขียนพยัญชนะสลับกัน  หรือเขียนคำเดียวกันแต่เขียนสองครั้งไม่เหมือนกัน   บางคนเขียนแบบสลับซ้ายขวาเหมือนส่องกระจก เขียนลายมือโย้เย้  ขนาดของตัวอักษรไม่เท่ากัน ขึ้นลงไม่ตรงบรรทัด  ไม่เว้นช่องไฟ  ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากมือและสายตาทำงานไม่ประสานกัน หรือการรับภาพของสมองไม่เหมือนคนอื่น
3.  มีปัญหาในการคำนวณ ( Dyscalculia )  อาจมีอาการคำนวณไม่ได้เลย หรือทำได้แต่สับสนกับตัวเลข ไม่เข้าใจสัญลักษณ์ ไม่เข้าใจค่าของตัวเลข  บางคนสับสนตั้งแต่การจำเครื่องหมายบวก  ลบ คูณ  หาร  ไม่สามารถจับหลักการได้  เช่น  หลักหน่วย  หลักสิบ  หลักร้อย ต่างกันอย่างไร  บางคนบวกลบเป็น เข้าใจเครื่องหมาย แต่ตีโจทย์คณิตศาสตร์ไม่ได้  เช่น  ถามว่า  2 + 2 เท่ากับเท่าไร  ตอบได้  แต่ถ้ามีส้มอยู่  2  ลูก  ป้าให้มาอีก  2  ลูก  รวมเป็นกี่ลูก เด็กกลุ่มนี้จะตอบไม่ได้ 
4. ประเภทสุดท้าย  เป็นประเภทที่มีความบกพร่องแบบไม่สามารถเฉพาะเจาะจงได้  คือ  ไม่เข้าเกณฑ์ทั้งเรื่องอ่าน  เขียน แล้วก็คำนวณ  ซึ่งก็อาจรวมถึงพวกที่มีความบกพร่องทั้ง 3  อย่างรวมกันด้วยก็ได้
รศ.พญ.ศันสนีย์  ฉัตรคุปต์  กล่าวถึงอาการของเด็กแอลดี ว่า  สิ่งแรกที่ดูได้คือ ผลการเรียน ถ้าเด็กสอบได้ 49-50 เปอร์เซ็นต์   ได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์  ก็ต้องดูสาเหตุว่าเกิดจากอะไร   สิ่งแรกก็คือ การตรวจไอคิว  จะทำให้ครู รู้ว่าสมองเด็กพัฒนาการสมวัยหรือไม่  ถ้าเด็กอาย 9  ขวบ เรียนอยู่ชั้น ป.4  ไอคิวเฉลี่ยอยู่ประมาณ  90-100  ถือว่าปกติ  ถ้าไอคิวปกติแปลว่าสมองมีพัฒนาการเหมือนเด็ก  9  ขวบทั่วไป ก็ควรจะเรียนหนังสือได้เหมือนเพื่อน ควรสอบได้เฉลี่ย     60 -80  เปอร์เซ็นต์  ดังนั้นจะต้องตรวจสอบไอคิวก่อนโดยนักจิตวิทยาที่เชี่ยวชาญด้านนี้  ถ้าตรวจสอบออกมาแล้วพบว่าเด็กมีไอคิว  50 -60  เด็กก็จะเรียนช้าจึงมีปัญหาการเรียนการสอบได้คะแนนไม่ดี  ถ้าไอคิวต่ำอย่างนี้ไม่ถือว่าเป็นแอลดี
            เด็กแอลดีจะมีกระบวนการทำงานของสมองที่แตกต่างไปจากเด็กปกติและการให้ความช่วยเหลือเด็กแอลดีแต่ละคนก็จะแตกต่างกันด้วย  มีการใช้เทคนิควิธีการสอนเด็กกลุ่มนี้ด้วยอุปกรณ์ที่ไม่เหมือนกัน  ดังนั้น ความคาดหวังในผลสัมฤทธิ์และผลสำเร็จในการศึกษาก็จะแตกต่างด้วยเช่นกัน
            สิ่งต่อไปที่จะสังเกตคือ  คะแนนของแต่ละวิชา  เด็กที่มีปัญหาการอ่าน การเขียน  คะแนนที่จะต้องใช้วิธีอ่านเขียนภาษาไทย  เช่น  วิชาสังคมศึกษาจะไม่ดี  แต่คณิตศาสตร์ดี  และถ้าเป็นวิชาคณิตศาสตร์ที่ใช้เฉพาะตัวเลข  เอามาบวก  ลบ  คูณ  หาร  เด็กสามารถทำได้หมด  แต่เมื่อเป็นโจทย์เลข  เช่น  มีวัวกี่ตัว  ขายไปกี่ตัว  เหลือกี่ตัว  เด็กจะทำไม่ได้เพราะว่าไม่เข้าใจโจทย์  อ่านไม่ได้  เขียนไม่ได้  คะแนนจะหายไป ลายมือไม่ดี  สะกดผิด  เขียนอ่านไม่เข้าใจ  เขียนตก  เขียนตัวใหญ่บ้างเล็กบ้าง  ช่องไฟไม่เท่ากัน  เว้นวรรคในที่ไม่ควรเว้นวรรค  ไม่สามารถจะสื่อออกมาเหมือนทั่ว ๆที่ครูสอนซ้ำแล้วหลายครั้ง
            อีกลักษณะหนึ่งคือ เด็กที่มีปัญหาเรื่องการคำนวณ  คณิตศาสตร์ทำไม่ได้เลย  แต่วิชาอ่านเขียนดีมาก  โดยรวมแล้วส่วนใหญ่ก็จะเป็นปัญหาทั้งหมดทุกอย่างรวมกัน
            ส่วน ด้านจิตใจของเด็กแอลดี  ก็จะเงื่องหงอย ซึม ๆ  ไม่มีความหวัง มีความพยายามอ่านเขียนแต่ไม่เข้าใจ  ไม่อยากเห็นสมุดรายงานผลการเรียน ของตนเองเลย  เกิดความสูญเสียความเชื่อมั่นในตนเองเป็นลักษณะหนึ่งที่สังเกตดูแล้วเหมือนแกล้ง
            การทดสอบเด็กที่มีปัญหาการอ่าน
            เราสามารถจะทำได้ดังนี้  ถ้าเราต้องการทดสอบความรู้ทางคณิตศาสตร์ก็ลองให้อ่านโจทย์คณิตศาสตร์  10  ข้อ  อาจทำได้เพียงข้อเดียว  เพราะว่าอ่านโจทย์แล้วไม่เข้าใจ  ถ้าเราต้องการทดสอบความรู้ทางวิทยาศาสตร์  เราต้องแยกเขาออกมาห้องหนึ่งหรือหลังห้อง  โดยครูอ่านโจทย์ให้ฟัง  ถ้าต้องการทอสอบภาษาไทย   การอ่านการเขียน  ก็ให้เขาอ่านเองเขียนเอง  เพื่อที่จะรู้ว่าความสามารถของเขาอยู่ระดับใด  พัฒนาได้ถึงระดับใดแล้ว
            พฤติกรรมสมาธิสั้น  กว่าร้อยละ  50  ของเด็กแอลดีจะมีพฤติกรรมสมาธิสั้นร่วมด้วย  พฤติกรรมสมาธิสั้นพบได้ในเด็กไอคิวปกติ  สูงกว่าปกติ หรือต่ำกว่าปกติก็ได้  นอกจากนั้นยังพบอาการสามาธิสั้นในพวกไฮเปอร์อยู่ไม่นิ่ง  ออทิสติก หรือในกลุ่มพฤติกรรมบกพร่องอื่น ๆด้วย
            สมาธิสั้นก็คือ  ไม่สามารถทำอะไรได้นาน ๆ อ่านหนังสือชั่วครู่เดียวก็ไปแล้ว  ทำอะไรอยู่ไม่ได้นาน  อาจมีพฤติกรรมไฮเปอร์  คือ  ยุกยิก  อยู่ไม่นิ่ง  เขียนหนังสือได้นิดเดียวเดี๋ยวก็มุดอยู่ใต้โต๊ะ  เดี๋ยวเดินไปเหลาดินสอ  กลับมาเข้าห้อง  ดื่มน้ำ  บางคนก็เดินวนไปรอบห้อง  บางคนอาจเดินไปนอกห้อง  สำรวจทั่วโรงเรียน ถือเป็นพฤติกรรมที่อาจพบร่วมกันได้ ถ้าเป็นแอลดีอย่างเดียว จะมีสมาธิ  ตั้งใจ  แต่มีความบกพร่องทำให้เรียนไม่ได้  เราจะไม่พบแอลดีในกลุ่มของสติปัญญาบกพร่อง  และเป็นคนละกลุ่มกับออทิสติก

                                                                        เอกสารอ้างอิง

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาสัย. 2551.  สร้างด้วยใจเพื่อเด้กแอลดี.  กรุงเทพฯ : ส่วนส่งเสริมการผลิตสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ศ ษ ส ใช้อย่างไร

ปัจจุบันเราใช้          ตามแบบภาษาไทยบาลีสันสกฤต  คำที่เราถือว่ามาจากภาษาบาลี  จะใช้    เพราะภาษาบาลีไม่มี    และ  มีแต่       ส่วนคำที่เราที่เราถือว่ามาจากภาษาสันสกฤตจะใช้        หรือ    แล้วแต่ว่าภาษาสันสกฤตใช้อักษรตัวใด  แต่ในสมัยก่อนไทยใช้          ตามแบบของไทยเราเอง
                ปัญหาเกี่ยวกับการใช้           เกิดขึ้นเพราะภาษาสันสกฤตออกเสียงพยัญชนะ           ต่างกัน 
ศาสตราจารย์ ดร.คุณบรรจบ  พันธุเมธา  อธิบายการออกเสียง    ไว้ว่า  ....    ของสันสกฤตเป็นเสียงพยัญชนะอุอสุม(ไอน้ำ) เกิดโดยการใช้ลิ้นแตะเพดานแข็งให้มีเสียงเสียดแทรกออกมาคล้ายเสียง sh  เวลา    ควบคู่มากับพยัญชนะอื่น  จึงมักเป็นพยัญชนะวรรค    เป็น  ศฺจ  โดยมาก  
                                                                                                                                                          (บรรจบ  พันธุเมธา,  ๒๕๑๖ : ๖๖)
                ส่วน    และ    คุณบรรจบอธิบายว่า    เป็นพยัญชนะซึ่งฐานที่เกิดเป็นฐานยอดเพดานที่เรียกว่า มุทธชะ  ในการออกเสียง     ต้องม้วนลิ้นแตะลึกเข้าไปเกือบถึงกลางเพดาน  แล้วจึงปล่อยลมให้เสียดแทรกออกมา     เป็นพยัญชนะซึ่งฐานที่เกิดเป็นฟันที่เรียนว่า ทันตชะ  ในการออกเสียง     ใช้ปลายลิ้นแตะข้างหลังฟัน  ให้เสียดแทรกออกมาตามไรฟัน
เมื่อคนไทยนำ             มาใช้แต่ออกเสียงอย่างคนอินเดียไม่ได้  จึงออกเสียงเหมือนกันหมดเป็น  []                 ในเมื่อเสียง  []  เสียงเดียวใช้พยัญชนะแทนได้ถึง    รูป  คนไทยจึงมีปัญหาในการเขียนโบราณาจารย์ของไทยได้ให้หลักการใช้เพื่อช่วยให้จำได้และเขียนถูกบ้าง
                พระวรเวทย์พิสิฐ  ให้หลักว่า  โบราณใช้      เป็นพยัญชนะต้น        เป็นตัวการันต์      เป็นตัวสะกด  ท่านเขียนว่า ....... ตัวพยัญชนะ    ตัวนี้มีเสียงไม่เหมือนกัน .... เราว่าเสียงตัว    ได้สะดวก  แต่    กับ    ต้องหัด  อยู่ข้างลำบาก  เพราะฉะนั้นโบราณจึงวางหน้าที่ตัวพยัญชนะ  ๓ ตัว  ไว้ดังนี้
                 ใช้เป็นตัวตั้ง  หรือพยัญชนะต้น  เช่น  สาร , สวรรค์ ,สุข    เพราะไม่ต้องลำบากในการต้องฝึกทำเสียง  ไทยเราก็ออกเสียงได้สะดวกอยู่แล้ว
                   ใช้เป็นตัวการันต์  เช่น  พงษ์ ,  วงษ์ ,  หงษ์    เพราะไม่อ่านออกเสียงตัวการันต์  หนังสือเก่าใช้   การันต์ เช่นนี้ทั้งนั้น  เพิ่งจะมาเปลี่ยนเป็น  พงศ์ ,  วงศ์ , หงส์  ในยุคใหม่นี้เอง
                ส่วน     โบราณใช้เป็นตัวสะกดในมาตรา  กด  แม้แต่รูปเดิมใช้    สะกด  ก็เปลี่ยนเป็น      เช่น  พิศม์  เป็นต้น ในคำไทยก็มีเป็นอันมาก  เช่น  พิศ , เลิศ ,  และถ้ามีคำต่อท้ายก็มักอ่านออกเสียง  สะ  ครึ่งเสียง  เช่น   พิศดู , เลิศล้น  เสียงเช่นนี้จึงเคยกันมา  ถ้าอ่านว่า พิศ-ดู  เลยเข้าใจว่าเป็น    คำไป 
                                                                                                                                                  ( พระวรเวทย์พิสิฐ,  ๒๕๐๒ : ๖๐) 
                ปัจจุบันการใช้             เปลี่ยนไป  หันไปอิงหลักภาษาบาลีสันสกฤต  ดังที่พระวรเวทย์พิสิฐ  อธิบายว่า  ....  เราเลิกใช้          อย่างโบราณ   แล้วหันเข้าหาหลักภาษาที่ถูกต้องตามหลักวิธีบาลีสันสกฤต  เพราะฉะนั้นการเขียนคำในปัจจุบันนี้  จึงต่างกับของโบราณ  คือคำเดิมเป็นรูปอย่างไร  เราก็เขียนรูปเช่นนั้น เพื่อเห็นรูปคำจะได้เข้าใจว่าเป็นคำอะไร  เช่น  พงษ์  ภาษาสันสกฤตใช้   บาลีใช้     เรานิยมใช้รูปคำสันสกฤต  เราจึงเขียนเป็น  พงศ์  หรือ  วงศ์    ส่วนคำว่า   หงษ์   ของโบราณ  สันสกฤตเป็น  หนฺส    บาลีเป็น   หงฺส  เราจึงใช้  หงส์  ตามรูปเดิม  แต่อย่างไรก็ดี  เรายังนิยมใช้    เป็นตัวสะกดอยู่หลายคำ  เช่น  พิศ  และ  เลิศ   เป็นต้น
                                                                                                                                                ( พระวรเวทย์พิสิฐ,  ๒๕๐๒ : ๖๑) 
                การใช้             ตามหลักวิธีบาลีสันสกฤตดังกล่าวนี้ได้เลิกใช้ไประยะหนึ่งระหว่าง  พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๔๘๗  สมัยจอมพล ป.   พิบูลสงคราม  รัฐบาลไทยสมัยนั้นกำหนดให้ใช้     เพียงรูปเดียว   แต่เมือ่พ้นระยะเวลาดังกล่าว  อักขรวิธีของไทยก็กลับไปเหมือนเดิม  มีการใช้ทั้ง        และ    ตามหลักวิธีบาลีสันสกฤต
เอกสารอ้างอิง
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน , สำนักงาน.  ๒๕๕๑.  หนังสืออุเทศภาษาไทย ; ภาษาไทยน่าศึกษาหาคำตอบ.  
                     กรุงเทพฯ : องค์การค้า สกสค.
บรรจบ   พันธุเมธา.  ๒๕๑๖.  บาลีสันสกฤตในภาษาไทย.  พระนคร :  โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราคำแหง.
วรเวทย์พิสิฐ,  พระ.  ๒๕๐๒.  หลักภาษาไทย.  พระนคร : โรงพิมพ์วิทยาลัยเทคนิค.

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ไม้ยมกใช้อย่างไร

                การใช้ไม้ยมกน่าจะเริ่มมีกฎเกณฑ์ขึ้นเมื่อกรมตำรา  กระทรวงธรรมการ  ได้จัดพิมพ์แบบเรียนภาษาไทย  เครื่องหมายวรรคตอน  ใน ร.ศ. ๑๑๙  กำหนดการใช้ไม้ยมกไว้ดังนี้
                ยมก  สำหรับใช้เขียนหลังคำ,  หลังวลี, หรือหลังประโยคเล็กซึ่งอยู่ในประโยคใหญ่อันเดียวกัน  เพื่อจะแทนที่จะต้องเขียนความ  ก็เป็นความเดียวกันเช่นนั้นอีกเป็นสองหน   ตัวอย่าง    ของเช่นนั้นๆ ฉันไม่ชอบ, คนทุก ๆ คน,  แต่จะใช้เขียนซ้ำพยางค์   เช่น   “ฉันจะไปปทุมวัน วันนี้” เป็น “ฉันจะไปปทุมวันๆ นี้  ไม่ถูก เพราะยมกควรต้องเป็นตัวแทนตลอดนาม  ไม่ใช่ตัดแบ่งพยางค์  หรือจะเขียนซ้ำข้ามประโยค  เช่นกับว่า  “เคาทูก็เข้าไปคำนับโจโฉ, โจโฉ เห็นเคาทูเข้ามาจึงว่า”  เป็น “เคาทูเข้าไปคำนับโจโฉๆ เห็นเคาทูเข้ามาจึงว่า ดังนี้ก็หาควรไม่เพราะชื่อโจโฉอยู่ประโยคหนึ่งต่างหาก           (ตำรา, ๒๔๗๑ : ๑๐) 
                ในแบบเรียนเล่มนี้ไม่ได้ให้ตัวอย่างการใช้ไม้ยมก “หลังประโยคเล็กซึ่งอยู่ในประโยคใหญ่อันเดียวกัน”  ตัวอย่างการใช้ไม้ยมกในลักษณะดังกล่าวมีอยู่ในหนังสือ หลักภาษาไทย ของพระยาอุปกิต ศิลปะสาร ท่านกล่าวถึงการใช้ไม้ยมกไว้ดังนี้

                .... แต่ถ้าซ้ำคำที่มีความหมายอย่างเดียวกันอยู่ในประโยคใหญ่ประโยคเดียวกัน ถึงจะอยู่ในประโยคเล็กต่างกัน ท่านก็ยอมให้ใช้ได้  เช่น “เขาภักดีต่อเจ้าพระยาจักรี  เจ้าพระยาจักรีจึงเลี้ยงเขาไว้” ดังนี้ยอมให้ใช้ว่า “เขาภักดีต่อเจ้าพระยาจักรีๆ จึงเลี้ยงเขาไว้” เพื่อสงวนกระดาษและเวลา  (อุปกิตศิลปสาร, ๒๕๑๑ : ๓๑๕)
                อย่างไรก็ตาม  การยอมให้ใช้ไม้ยมกหลังประโยคเล็กซึ่งอยู่ในประโยคใหญ่อันเดียวกันก่อให้เกิดปัญหา จะต้องพิจารณาว่า คำอยู่ในประโยคเล็กหรือประโยคใหญ่ ใช้ไม้ยมกแทนได้หรือไม่
                ตัวอย่างต่อไปนี้ได้มาจากหนังสือ หลักภาษาไทย  ของพระยาอุปกิตศิลปสาร
เขาเคยมาทุกวัน    วันนี้ไม่มา
                พระยาอุปกิตศิลปสาร  กล่าวว่า  การใช้ไม้ยมกนั้น “ ห้ามไม่ให้ใช้ก้าวก่ายกัน คนละบท หรือคนละความ” ตัวอย่างข้างต้น   ไม่ให้ใช้ว่าเขาเคยมาทุกวันๆ นี้ไม่มา  เพราะเป็นคนละบท คือบทต้นเป็น วลี  - ทุกวัน บทหลังเป็น คำ – วัน  ถ้าใช้ต้องอ่านว่า “ เขาเคยมาทุกวัน  ทุกวันนี้ไม่มา” ซึ่งผิดความหมายด้วย และเป็นคนละประโยคด้วย....          (อุปกิตศิลปสาร,  ๒๕๑๑ : ๓๑๕)
                คำว่า วัน ในตัวอย่างข้างต้นถือว่าอยู่คนละประโยค  ไม่ควรใช้ไม้ยมก  แต่ถ้าแก้ไขประโยคเล็กน้อยเป็น เขาเคยมาทุกวัน   วันนี้จึงมาอีก  

                จะเกิดปัญหาว่า  แม้คำว่า  วัน  จะอยู่ในประโยคเล็กต่างกัน แต่อยู่ในประโยคใหญ่ประโยคเดียวกัน น่าจะยอมให้ใช้ไม้ยมกได้
                ปัญหายุ่งยากเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้น  ถ้าห้ามใช้ยมกข้ามประโยค  ไม่ว่าจะเป็นประโยคเล็กหรือประโยคใหญ่
                ปัจจุบัน  มีหลักเกณฑ์การใช้ไม้ยมกปรากฏอยู่ในหนังสือ  หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่นๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ  ของราชบัณฑิตยสถาน สรุปได้ดังนี้
                ไม้ยมกหลังคำ  วลี  หรือประโยค  เพื่อให้อ่านซ้ำคำ   วลี หรือประโยคอีกครั้งหนึ่ง
                ต้องใช้ไม้ยมกเสมอถ้าเป็นคำซ้ำ
                ไม่ควรใช้ไม้ยมก  เมื่อเป็นคนละบท  คนละความ  หรือเมื่อรูปคำเดิมเป็น ๒ พยางค์ที่มีเสียงซ้ำกัน   หรือเมื่อเป็นคำคนละชนิดกัน  หรือเมื่อเป็นคำประพันธ์   ยกเว้นกลบทที่มีกำหนดให้ใช้ไม้ยมก
                เราอาจใช้ไม้ยมกซ้ำคำและความตามหลักเกณฑ์ข้างต้น

เอกสารอ้างอิง
ตำรา,  กรม  กระทรวงธรรมการ.  ๒๔๗๑.  แบบเรียนภาษาไทย  เครื่องหมายวรรคตอน. พิมพ์ครั้งที่ ๔.
                   พระนคร
: โรงพิมพ์อักษรนิติ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.  ๒๕๕๑.  หนังสืออุเทศภาษาไทย : ภาษาไทย  น่าศึกษา
                   หาคำตอบ
.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องคืการค้าของสำนักงานคณะกรรมการ สกสค.
อุปกิตศิลปสาร,  พระยา.  ๒๕๑๑.  หลักภาษาไทย.  พระนคร : ไทยวัฒนาพานิช.